วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

DSL

DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Line คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ โดยการสื่อสารนี้จะใช้ย่านความถี่ที่ไม่มีการใช้งานในระบบโทรศัพท์ ซึ่งทำให้เราสามารถเล่น Internet พร้อมกับพูดคุยโทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ระบบ DSL เป็นระบบที่ Online 24 ชั่วโมง ซึ่งเราไม่จำเป็นต้อง Dial-up เหมือนกับโมเด็มทั่ว ๆ ไป เป็นระบบที่มีคุณสมบัติในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยี DSL มีหลายเทคโนโลยี

ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)

HDSL (High-bit-rate Digital Subscriber Line)

RADSL (Rate Adaptive Asymmetric Digital Subscriber Line)

SDSL (Symmetric Digital Subscriber Line) 

VDSL (Very high-bit-rate Digital Subscriber Line) 

หน้าที่ของ DSL
ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมติดต่อกับที่อยู่อาศัยหรือธุรกิจขนาด เล็ก ด้วยสายโทรศัพท์ที่เรียกว่า Twisted pair โดยระบบโทรศัพท์แบบนี้เป็นการสับและส่งสัญญาณแบบอะนาล็อก อุปกรณ์นำเข้าสัญญาณจะแปลงเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าด้วย amplitude และความถี่เพื่อส่งไปยังปลายทาง ในการรับสัญญาณจะแปลงสัญญาณแบบอะนาล็อก ให้เป็นเสียง ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์มี modem ในการแปลงสัญญาณ อะนาล็อก ให้เป็นค่า 0 และ 1 จึงเรียกว่า ระบบดิจิตอล

จากการส่งสัญญาณอะนาล็อก โดยผ่านสายทองแดงแบบ Twisted pair สามารถใช้กับโมเด็มขนาด 56 Kbps ทำให้ ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกจำกัด ด้วยระบบสายโทรศัพท์ดังกล่าว

Digital Subscriber Line (DSL) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ ข้อมูลไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสัญญาณอะนาล็อก โดยให้ข้อมูลแบบดิจิตอลแล้วส่งผ่านไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง และยินยอมให้ส่งไปยังผู้ใช้สามารถใช้ ขนาด bandwidth ที่กว้าง ในขณะที่มีการแบ่ง bandwidth บางส่วนสำหรับการส่งสัญญาณ อะนาล็อก เพื่อที่จะทำให้สามารถใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ในสายเดียวกัน

ADSL คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่นำมาใช้งานอินเตอร์เน็ตตามบ้าน และองค์กรขนาดย่อม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องมาจากคุณภาพและราคาที่ค่อนข้างเหมาะสมกับความต้องการ อีกทั้งการเชื่อมต่อแบบ DSL ไม่มีจุดอ่อนต่อการถูกดักจับ Packet เหมือนกับการใช้งานเคเบิลโมเด็ม

ตัวอย่างการประยุกต์เทคโนโลยี DSL ไปใช้งาน

1.Broadcast Audio & TV

ดูรายการถ่ายทอดสดผ่าน TV, คอมพิวเตอร์

2.Distance Learning

การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต แบบ Interactive

3.Interactive Network

เล่นเกมส์ online

4.Online Shopping

Shopping แบบ online

5.VDO Conference

การประชุมทางไกล การอบรมทางไกล

6.Video & Music on Demand

ดูหนัง ฟังเพลงแบบ online สามารถเลือกได้ตามใจคุณ

7.VPN : Virtual Private Network

การรับส่ง ติดต่อข้อมูลระหว่างสาขา

DBMS

DBMS ย่อมาจาก Database Management System

DB คือ Database หมายถึง ฐานข้อมูล

M คือ Management หมายถึง การจัดการ

S คือ System หมายถึง ระบบ

DBMS คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล โดยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั้งในด้านการสร้าง การปรับปรุงแก้ไข

การเข้าถึงข้อมูล และการจัดการเกี่ยวกับระบบแฟ้มข้อมูลทางกายภาพ ภายในฐานข้อมูลซึ่งต่างไปจากระบบแฟ้มข้อมูลคือ หน้าที่เหล่านี้จะเป็นของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่ม DML หรือ DDL หรือ จะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับฐานข้อมูลจะถูกโปรแกรม DBMS นำมาแปล (Compile) เป็นการกระทำต่างๆภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลใน ฐานข้อมูลต่อไป

DBMS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้าน Data Independence ที่ไม่มีในระบบแฟ้มข้อมูล ทำให้มีความเป็นอิสระจากทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์ และข้อมูลภายในฐานข้อมูลกล่าวคือโปรแกรม DBMS นี้จะมีการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบ (Platform) ของตัวฮาร์ดแวร์ ที่นำมาใช้กับระบบฐานข้อมูลรวมทั้งมีรูปแบบในการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลด้วยการใช้ Query Language ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลแทนคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงประเภทหรือขนาดของข้อมูลนั้นหรือสามารถกำหนดลำดับที่ของฟิลด์ ในการกำหนดการแสดงผลได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงลำดับที่จริงของฟิลด์ นั้น

หน้าที่ของ DBMS

1.) ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ข้อมูลเข้าใจ

2.) ทำหน้าที่ในการนำคำสั่งต่างๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้วไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ข้อมูล (Retrieve) การจัดเก็บข้อมูล (Update) การลบข้อมูล (Delete) หรือ การเพิ่มข้อมูลเป็นต้น (Add) ฯลฯ

3.) ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำได้

4.) ทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ

5.) ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ใน data dictionary ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า "ข้อมูลของข้อมูล" (Meta Data)

6.) ทำหน้าที่ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างฐานข้อมูลที่เป็น

DBMS
Mysql

Oracle คืออะไร ออราเคิล คือโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
มารู้จักและติดตั้ง PostgreSQL
MSSQL

Microsoft

Microsoft คือบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก ก่อตั้งโดยบิลล์ เกตส์ กับ พอล อัลเลน มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ และเป็นผู้ผลิตโปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (IE Microsoft Internet ) นอกจากนี้แล้วไมโครซอฟท์ยังได้ทำตลาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น ไมโครซอฟท์ เมาส์ ไมโครซอฟท์ คีย์บอร์ด ไมโครซอฟท์ ฮารด์แวร์ ไมโครซอฟท์ LifeCam รวมถึงเครื่องเล่นต่างๆเช่น เครื่องเล่นวีดีโอเกม Xbox MSN TV และ Zune เป็นต้น



ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ต่างๆของบริษัท Microsoft

Virtual Private Network

Virtual Private Network หรือ VPN คือเครือข่ายเสมือนส่วนตัว เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัย Internet เป็นตัวกลาง โดยเชื่อมต่อจากที่ใดในโลกก็ได้ เพื่อเข้าใช้งานทรัพยากรต่างๆ บนเครือข่ายนั้นๆ เปรียบเสมือนผู้ใช้กําลังใช้งานอยู่ภายในเครือข่ายนั้น รวมถึงมีการรักษาความปลอดภัยในการเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่ง เพื่อให้ข้อมูล มีความปลอดภัย ปกติแล้ว VPN ถูกนํามาใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีสาขาอยู่ตามที่ต่างๆ และต้องการต่อเชื่อมเข้าหากัน โดยยังคงสามารถรักษาเครือข่ายให้ใช้ได้เฉพาะคนภายในองค์กร หรือคนที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ลูกค้า, ซัพลายเออร์ เป็นต้น เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งต้องการความคล่องตัวในการติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างสาขา

ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีนโยบายในการนำเครือข่ายแบบ VPN มาใช้งานในมหาวิทยาลัย เพือสนับสนุนการดำเนินงานในทุก ๆ ด้านทั้งด้านการเรียน การสอน การวิจัย การบริหารและบริการ VPN จะช่วยใหบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เข้าสู่เครือข่ายการสื่อสารหลักของมหาวิทยาลัยจากที่บ้านหรือที่อื่นๆได้ เพื่อใช้บริการภายในต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ โดยความเร็วที่เข้าใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ Internet ณ จุดที่ผู่ใช้ กำลังใช้บริการ




รูปแบบบริการ VPN

บริการ VPN แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

1. Access VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ใน 2 ลักษณะ โดยลักษณะแรก เป็นการเข้าถึงจากไคลเอ็นต์ใดๆ ก็ได้ โดยอาศัย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นตัวกลาง ในการติดต่อ ซึ่งจะมีการเข้ารหัสในการ ส่งสัญญาณ จากเครื่องไคลเอ็นต์ ไปยังไอเอสพี และลักษณะที่สอง เป็นการเข้าถึง จากเครื่องแอ็กเซสเซิร์ฟเวอร์ (Network Access Server-NAS) โดยเริ่มต้นจาก ผู้ใช้หมุนโมเด็ม ติดต่อมายังไอเอสพี และจากนั้น จะมีการเข้ารหัสข้อมูล และส่งต่อไปยังปลายทาง

2. Intranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN ที่ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น อาทิ การต่อเชื่อมเครือข่าย ระหว่างสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ และสาขาย่อย ในต่างจังหวัด เสมือนกับ การทดแทน การเช่าวงจรลีสไลน์ ระหว่าง กรุงเทพกับต่างจังหวัด โดยที่แต่ละสาขา สามารถ ต่อเชื่อมเข้ากับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในท้องถิ่นของตน เพื่อเชื่อมเข้า โครงข่าย VPN ขององค์กรอีกทีหนึ่ง

3. Extranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย ที่คล้ายกับ Intranet VPN แต่มีการขยายวงออกไป ยังกลุ่มลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพาร์ตเนอร์ เพื่อให้ใช้เครือข่ายได้ จุดสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกติดตั้ง VPN คือการเลือก ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่วางระบบรักษาความปลอดภัย เป็นอย่างดี มีส่วนอย่างมาก ในการส่งข้อมูลบน VPN ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะถ้า ไอเอสพี มีระบบรักษาความปลอดภัย ที่รัดกุม ก็จะช่วยให้ ข้อมูลที่ส่งมา มีความปลอดภัยมากขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจาก VPN

ประโยชน์ของ การติดตั้งเครือข่ายแบบ VPN จะช่วยองค์กร ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ว่าผู้ใช้องค์กร จะอยู่ที่ใดในโลกก็สามารถเข้าถึงเครือข่าย VPN ของตนได้ โดยการต่อเชื่อมเข้ากับผู้ให้บริการท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร และสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการดูแลรักษาระบบอีกด้วย

Virtual Machine

Virtual Machine คือระบบปฏิบัติการที่ทำให้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อจำลองการทำงานของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เสมือนมีคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือมากกว่านั้น ซ้อนกันอยู่ในคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว

ประโยชน์ของการจำลองในลักษณะนี้ เช่น ใช้ในการทดสอบการลงโปรแกรมใหม่ๆ เพราะการทำงานจะทำงานเสมือนเป็นคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งถ้าเกิดความผิดพลาดใดๆ ก็จะไม่มีผลต่อตัวระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหลัก และอีกตัวอย่างหนึ่งก็เช่น มีคอมพิวเตอร์อยู่เครื่องนึงที่มีระบบปฏิบัติการ (OS) อยู่แล้วแล้วเราทำการลงโปรแกรมที่มีชื่อว่า Vmware Vsphere Client โปรแกรมนี้สามารถติดตั้ง OS ได้หลายตัวที่สำคัญสามารถรัน OS พร้อมกันได้ด้วย สรุป OS ที่ลงในโปรแกรม Vmware Vsphere Client หลายๆตัวก็คือ Virtual Machine นั้นเอง


virtual reality

virtual reality หรือ VR คือการจำลองแบบของสภาพแวดล้อมจริงโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งสภาพแวดล้อมในความเป็นจริงเสมือนนี้ ส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เรามองเห็นได้ แสดงทั้งบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์แสดงผลสามมิติ และยังรวมถึงการจำลองข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสด้วย เช่น เสียงจากลำโพงหรือหูฟัง นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงการจำลองการสัมผัส เช่น การตอบสนองต่อแรงและป้อนกลับ โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมเสมือนจริงนี้ได้ ทั้งการใช้อุปกรณ์ เช่น แป้นพิมพ์ หรือ เมาส์ หรือใช้อุปกรณ์อื่น เช่น ถุงมือโครงลวด แขนควบคุม หรือ คันบังคับหลายทิศทาง เป็นต้น ถือเป็นเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่ผลักดัน ให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกของการเข้าร่วมอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้มีอยู่จริง เป็นเพียงสภาพแวดล้อมจำลองที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงนี้ถูกนำมาใช้ในหลายวงการ เช่น การจำลองการฝึกนักบิน หรือ หน่วยรบ ,ระบบฝึกผ่าตัดสำหรับนักเรียนแพทย์ และ การศัลยกรรมเสมือนจริง โดยสถานที่ของศัลยแพทย์และผู้ป่วยอาจจะอยู่คนละซีกโลก โดยอาศัยอุปกรณ์ควบคุมการใช้งานระยะไกล เป็นต้น และอีกหนึ่งตัวอย่างที่เราคุ้นกันดี เช่น ภาพยนตร์ 3D และ เกมคอมพิวเตอร์ที่นับวันยิ่งมีความสมจริงมากขึ้นทุกวัน

Java

 Java หรือ Java programming language คือภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส C++ โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แล้วภายหลังจึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน จุดเด่นของภาษา Java อยู่ที่ผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนด้วย Java ได้ 
     ภาษา Java เป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ( OOP : Object-Oriented Programming) โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส ดังนั้นคลาสคือที่เก็บเมทอด (Method) หรือพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีสถานะ (State) และรูปพรรณ (Identity) ประจำพฤติกรรม (Behavior) 
Java คืออะไร จาวา คือภาษาคอมพิวเตอร์ สำหรับเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
     ข้อดีของ ภาษา Java
     -  ภาษา Java เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุแบบสมบูรณ์ ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน การพัฒนาโปรแกรมแบบวัตถุจะช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
     -  โปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษา Java จะมีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ไม่จําเป็นต้องดัดแปลงแก้ไขโปรแกรม เช่น หากเขียนโปรแกรมบนเครื่อง Sun โปรแกรมนั้นก็สามารถถูก compile และ run บนเครื่องพีซีธรรมดาได้
     -ภาษาจาวามีการตรวจสอบข้อผิดพลาดทั้งตอน compile time และ runtime ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในโปรแกรม และช่วยให้ debug โปรแกรมได้ง่าย
     - ภาษาจาวามีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษา C++ เมื่อเปรียบเทียบ code ของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยภาษา Java กับ C++ พบว่า โปรแกรมที่เขียนโดยภาษา Java จะมีจํานวน code น้อยกว่าโปรแกรมที่เขียนโดยภาษา C++ ทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่าและลดความผิดพลาดได้มากขึ้น 
     -  ภาษาจาวาถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงตั้งแต่แรก ทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวามีความปลอดภัยมากกว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้น ด้วยภาษาอื่น เพราะ Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificatesของ
     -มี IDE, application server, และ library ต่าง ๆ มากมายสำหรับจาวาที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการซื้อ tool และ s/w ต่าง ๆ
    ข้อเสียของ ภาษา Java
    -ทำงานได้ช้ากว่า native code (โปรแกรมที่ compile ให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาอื่น อย่างเช่น C หรือ C++ ทั้งนี้ก็เพราะว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาจาวาจะถูกแปลงเป็นภาษากลาง ก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีก ทีหนึ่ง ทีล่ะคำสั่ง (หรือกลุ่มของคำสั่ง) ณ runtime ทำให้ทำงานช้ากว่า native code ซึ่งอยู่ในรูปของภาษาเครื่องแล้วตั้งแต่ compile  โปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา
    -tool ที่มีในการใช้พัฒนาโปรแกรมจาวามักไม่ค่อยเก่ง ทำให้หลายอย่างโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นคนทำเอง ทำให้ต้องเสียเวลาทำงานในส่วนที่ tool ทำไม่ได้ ถ้าเราดู tool ของ MS จะใช้งานได้ง่ายกว่า และพัฒนาได้เร็วกว่า (แต่เราต้องซื้อ tool ของ MS และก็ต้องรันบน platform ของ MS)

RGB

RGB ย่อมาจาก red, green และ blue คือระบบสีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงกลายเป็นสีรุ้ง ด้วยกัน 7 สี ซึ่งเป็นช่วงแสงที่ตาของคนเราสามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงจะมีความถี่สูงสุดเรียกว่า อุนตร้าไวโอแรต และแสงสีแดงจะมีความถี่ต่ำสุด เรียกว่าอินฟาเรต คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำ

กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ แสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง ( Red ) สีน้ำเงิน (Blue)และสีเขียว (Green) ทั้งสามสีถือเป็นแม่สีของแสง

แม่สีของแสงมีด้วยกัน 3 สี คือ สีแดง(R) ,สีเขียว(G),สีน้ำเงิน(B) และแต่ละแม่สีเมื่อรวมกันก็จะได้สีดังนี้

สีแดง+สีเขียว ได้ สีเหลือง Yellow

สีเขียว+น้ำเงิน ได้ สีฟ้า Cyan

สีแดง+สีน้ำเงิน ได้ สีแดงอมชมพู่ Magenta

เมื่อนำแม่สีของแสงทั้ง 3 มาผสมกัน ในปริมาณแสงสว่างเท่ากันก็จะได้เป็นแสงที่สีขาว แต่ถ้าผสมกันระหว่างแสงระดับความสว่างต่างกัน ก็จะได้ผลทีเป็นแสงสีๆ มากมายเป็นล้านสีทีเดียว ส่วนใหญ่การใช้สีลักษณะนี้จะใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่น จอภาพ กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ เป็นต้น

ระบบสี RGB จะการแสดงผลออกมา เป็นรูปแบบการรับแสงแสดงผลด้วยแสงทีเป็นแม่สีได้แก่ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น จอภาพ,สแกนเนอร์,กล้องดิจิดอลหรือดวงตาคนเราล้วนแต่รับและแปลผลเป็นสีต่างๆ ด้วยแสงเหล่านี้ ตัวอย่างการงานที่เหมาะกับการใช้ระบบสี RGB ก็เช่น ในการออกแบบ web site , Blogเหล่า Web Design จะใช้ระบบสี RGB เพื่อให้ได้ภาพที่เมื่อแสดงผลบนน่าจอแล้วมีความสวยงามใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ ส่วนในงานสิ่งพิมพ์จะนิยมใช้ระบบสี CMYK เพราะเป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ ดังนั้นเมื่อเราต้องการพิมพ์ภาพ จึงควรตั้งค่าภาพนั้นให้เป็น ระบบสี CMYK ก่อนพิมพ์เพื่อให้ภาพที่ได้สีไม่ผิดเพี้ยนไป เพราะหากเรานำภาพที่เป็นระบบสี RGB ไปพิมพ์ปกติ โดยไม่มีการแปลงให้เป็นระบบสี CMYK เสียก่อน ภาพที่ได้จะมีสีที่ผิดเพี้ยนไป


ภาพวงจรสีของแสง แบบแม่สีหลักและแม่สีรอง



ปัจจุบันค่า สีของธงชาติไทย คือ

สีขาว

HEX : #F4F5F8

CMYK : C 3%, M 2%, Y 1%, K 0%

RGB : R 244, G 245, B 248


สีน้ำเงิน

HEX : #2D2A4A

CMYK : C 87%, M 85%, Y 42%, K 43%

RGB : R 45, G 42, B 74


สีแดง

HEX : #A51931

CMYK : C24%, M100%, Y83%, K18%

RGB : R165, G25, B49

ISO

ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization คือ องค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และอุตสาหกรรม ส่วนมาตรฐานที่องค์กรนี้ออกมา ก็ใช้ชื่อนำหน้าว่า ISO เช่น ISO 9000 และ ISO 14000 ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยระบบบริหารคุณภาพ และระบบบริหารสิ่งแวดล้อม 

ISO จะมีสมาชิกจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก และสมาชิกก็แบ่งเป็นระดับๆ แตกต่างกันไปอีก ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ และมาตรฐานต่างๆ ที่ออกมาก็เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard) นอจากนี้มาตรฐาน ISO ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรชนิดใดขนาดใหญ่ หรือ เล็ก ผลิตสินค้าอะไร หรือ ให้บริการอะไร ตัวอย่างเช่น มาตรฐาน ISO-10646-1 เป็นมาตรฐานที่โปรแกรมในปัจจุบันได้เริ่มออกแบบให้สามารถใช้ได้หลายภาษา (multilingual) โดยใช้ มาตรฐานของตัวอักษร ของ ISO/IEC 10646 (Universal Multi-octet Coded Character Set - UCS) ซึ่งเป็นระบบสำหรับเก็บข้อมูลตัวอักษรสากลในระบบ 8 Bit (หรือ byte) ซึ่งอาจอยู่ในรูป 8 bit หลาย ๆ ตัวต่อกัน และรู้จักกันดีในชื่อ Unicode UCS หรือ UTF-8

ประโยชน์ของ มาตรฐาน ISO

1. องค์กร/บริษัท

- การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบ และมีประสิทธิภาพ

- ผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ

- ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร

- ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท

- มีการทำงานเป็นระบบ

- เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

- พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น

- มีวินัยในการทำงาน - พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถ

พัฒนาตนเองตลอดจน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน

3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค

- มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ

- สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ

- ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน

ทำความรู้จัก ISO ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ IT

มาตรฐาน ISMF 7 คืออะไร มาตรฐานตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยระบบสารสนเทศ

มาตรฐาน SANS TOP20 คืออะไร มาตรฐานในการตรวจสอบระบบสารสนเทศ

มาตรฐาน ITIL (ไอทีไอแอล) คืออะไร การบริหารงานบริการด้านสารสนเทศ

มาตรฐาน COBIT (โคบิต) คืออะไร การใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ISO/IEC 27001 (ไอเอสโอ/ไออีชี 27001) และ ISO/IEC 17799 (ไอเอสโอ/ไออีชี 17799) คืออะไร

ISO 9001 (ไอเอสโอ 9001) คืออะไร เกี่ยวกับงาน IT (ไอที) อย่างไร ระบบการบริหารงานคุณภาพ

มาตราฐาน ISO/IEC 15504 คืออะไร การดำเนินการพัฒนาซอฟต์แวร์


CMMI คือ อะไร มาตรฐานกระบวนการในการพัฒนางาน

JavaScript

 JavaScript คือ ภาษาคอมพิวเตอร์สำหรับการเขียนโปรแกรมบนระบบอินเทอร์เน็ต ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง Java JavaScript เป็น ภาษาสคริปต์เชิงวัตถุ (ที่เรียกกันว่า "สคริปต์" (script) ซึ่งในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ (ใช่ร่วมกับ HTML) เพื่อให้เว็บไซต์ของเราดูมีการเคลื่อนไหว สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้มากขึ้น ซึ่งมีวิธีการทำงานในลักษณะ "แปลความและดำเนินงานไปทีละคำสั่ง" (interpret) หรือเรียกว่า อ็อบเจ็กโอเรียลเต็ด (Object Oriented Programming) ที่มีเป้าหมายในการ ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมในระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้เขียนด้วยภาษา HTML สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ โดยทำงานร่วมกับ ภาษา HTML และภาษา Java ได้ทั้งทางฝั่งไคลเอนต์ (Client) และ ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server) 
     JavaScript ถูกพัฒนาขึ้นโดย เน็ตสเคปคอมมิวนิเคชันส์ (Netscape Communications Corporation) โดยใช้ชื่อว่า Live Script ออกมาพร้อมกับ Netscape Navigator2.0 เพื่อใช้สร้างเว็บเพจโดยติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์แบบ Live Wire ต่อมาเน็ตสเคปจึงได้ร่วมมือกับ บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ปรับปรุงระบบของบราวเซอร์เพื่อให้สามารถติดต่อใช้งานกับภาษาจาวาได้ และได้ปรับปรุง LiveScript ใหม่เมื่อ ปี 2538 แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า JavaScript JavaScript สามารถทำให้ การสร้างเว็บเพจ มีลูกเล่น ต่าง ๆ มากมาย และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันที เช่น การใช้เมาส์คลิก หรือ การกรอกข้อความในฟอร์ม เป็นต้น 
     เนื่องจาก JavaScript ช่วยให้ผู้พัฒนา สามารถสร้างเว็บเพจได้ตรงกับความต้องการ และมีความน่าสนใจมากขึ้น ประกอบกับเป็นภาษาเปิด ที่ใครก็สามารถนำไปใช้ได้ ดังนั้นจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง รวมทั้งได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานโดย ECMA การทำงานของ JavaScript จะต้องมีการแปลความคำสั่ง ซึ่งขั้นตอนนี้จะถูกจัดการโดยบราวเซอร์ (เรียกว่าเป็น client-side script) ดังนั้น JavaScript จึงสามารถทำงานได้ เฉพาะบนบราวเซอร์ที่สนับสนุน ซึ่งปัจจุบันบราวเซอร์เกือบทั้งหมดก็สนับสนุน JavaScript แล้ว อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องระวังคือ JavaScript มีการพัฒนาเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆออกมาด้วย (ปัจจุบันคือรุ่น 1.5) ดังนั้น ถ้านำโค้ดของเวอร์ชั่นใหม่ ไปรันบนบราวเซอร์รุ่นเก่าที่ยังไม่สนับสนุน ก็อาจจะทำให้เกิด error ได้

JavaScript ทำอะไรได้บ้าง
    1.JavaScript ทำให้สามารถใช้เขียนโปรแกรมแบบง่ายๆได้ โดยไม่ต้องพึ่งภาษาอื่น 
    2.JavaScript มีคำสั่งที่ตอบสนองกับผู้ใช้งาน เช่นเมื่อผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม หรือ Checkbox ก็สามารถสั่งให้เปิดหน้าใหม่ได้ ทำให้เว็บไซต์ของเรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานมากขึ้น นี่คือข้อดีของ JavaScript เลยก็ว่าได้ที่ทำให้เว็บไซต์ดังๆทั้งหลายเช่น Google Map ต่างหันมาใช้
    3.JavaScript สามารถเขียนหรือเปลี่ยนแปลง HTML Element ได้ นั่นคือสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงผลของเว็บไซต์ได้ หรือหน้าแสดงเนื้อหาสามารถซ่อนหรือแสดงเนื้อหาได้แบบง่ายๆนั่นเอง
    4.JavaScript สามารถใช้ตรวจสอบข้อมูลได้ สังเกตว่าเมื่อเรากรอกข้อมูลบางเว็บไซต์ เช่น Email เมื่อเรากรอกข้อมูลผิดจะมีหน้าต่างฟ้องขึ้นมาว่าเรากรอกผิด หรือลืมกรอกอะไรบางอย่าง เป็นต้น
    5.JavaScript สามารถใช้ในการตรวจสอบผู้ใช้ได้เช่น ตรวจสอบว่าผู้ใช้ ใช้ web browser อะไร
    6.JavaScript สร้าง Cookies (เก็บข้อมูลของผู้ใช้ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เอง) ได้

ข้อดีและข้อเสียของ Java JavaScript     การทำงานของ JavaScript เกิดขึ้นบนบราวเซอร์ (เรียกว่าเป็น client-side script) ดังนั้นไม่ว่าคุณจะใช้เซิร์ฟเวอร์อะไร หรือที่ไหน ก็ยังคงสามารถใช้ JavaScript ในเว็บเพจได้ ต่างกับภาษาสคริปต์อื่น เช่น Perl, PHP หรือ ASP ซึ่งต้องแปลความและทำงานที่ตัวเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (เรียกว่า server-side script) ดังนั้นจึงต้องใช้บนเซิร์ฟเวอร์ ที่สนับสนุนภาษาเหล่านี้เท่านั้น อย่างไรก็ดี จากลักษณะดังกล่าวก็ทำให้ JavaScript มีข้อจำกัด คือไม่สามารถรับและส่งข้อมูลต่างๆ กับเซิร์ฟเวอร์โดยตรง เช่น การอ่านไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อนำมาแสดงบนเว็บเพจ หรือรับข้อมูลจากผู้ชม เพื่อนำไปเก็บบนเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น ดังนั้นงานลักษณะนี้ จึงยังคงต้องอาศัยภาษา server-side script อยู่ (ความจริง JavaScript ที่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์เวอร์ก็มี ซึ่งต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนโดยเฉพาะเช่นกัน แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก) 

ANSI

  ANSI ย่อมาจาก American National Standards Instituteคือสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรสำคัญที่ให้การสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานทางเทคโนโลยีของสหรัฐ ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานต่างๆ ของอเมริการให้เหมาะสมจากนั้นจะรับรองขึ้นไปเป็นมาตรฐานสากล ANSI ยังเป็นตัวแทนของอเมริกาในองค์กรมาตรฐานสากล ISO (International Organization for Standardization) และ IEC (International Electrotechnical Commission) ANSI เป็นที่รู้จักในการเสนอภาษาการเขียนโปรแกรม ได้แก่ ANSI C และยังกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีระบบเครือข่ายอีกหลายแบบ เช่นระบบเครือข่ายความเร็วสูงที่ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง SONET เป็นต้น

Ping

Ping คือโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ใช้ทดสอบว่าโฮสต์ปลายทางได้เชื่อมต่อกับเป้าหมายปลายทางอยู่หรือไม่  (เป้าหมายปลายทาง คือ  เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถกำหนดหมายเลข  IP Address ได้  ,ชื่อของเครื่องหรืออุปกรณ์ในระบบเครือข่าย  ,และ ชื่อของเว็บไซต์  เป็นต้น ) โปรแกรม Ping ทำงานโดยการส่งข้อมูล ICMP ประเภท "echo request" ไปยังโฮสต์เป้าหมาย และรอคอยการตอบรับเป็นข้อมูล "echo response" กลับมา (บางครั้งก็เรียกว่า "Ping Pong" คล้ายกับกีฬาเทเบิลเทนนิส) นอกจากนี้ โปรแกรม Ping ยังสามารถประมาณเวลาเดินทางโดยเฉลี่ยของข้อมูลไปกลับ โดยคำนวณจากช่วงเวลาและอัตราเร็วในการตอบรับ เป็นหน่วยมิลลิวินาที และอัตราการสูญเสียข้อมูลระหว่างโฮสต์เป็นเปอร์เซ็นต์

Data Type

   Data Type คือ ชนิดของข้อมูล แยกเป็นสองประเภทย่อย คือ
1.ชนิดข้อมูลพื้นฐาน (Primitive Data Type) หมายถึง ชนิดข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นข้อมูลทั่วไปหรือข้อมูลพื้นฐาน ภาษาจาวาถูกออกแบบให้มีชนิดข้อมูลพื้นฐาน เนื่องจากผู้ออกแบบต้องการให้ผู้ที่สนใจภาษาจาวาและเคยเขียนโปรแกรมมาก่อน สามารถเข้าใจภาษาจาวาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ชนิดข้อมูลพื้นฐานมี 4 ประเภทหลักๆดังนี้
    -ชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม เช่น 1, 46 หรือ 7048 เป็นต้น
    -ชนิดตัวเลขทศนิยม ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนทศนิยม ดังนั้นข้อมูลชนิดนี้มีความละเอียดกว่าตัวเลขจำนวนเต็ม เช่น 12.4, 8.0, 9.33333 หรือ 24E5 เป็นต้น
    -ชนิดตัวอักษร ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ตัวอักษร  หรือพยัญชนะหนึ่งตัว เช่นตัวอักษรเลข 4 ตัวอักษร A ตัวอักษรเลข 9 หรือตัวอักษร + เป็นต้น
    -ชนิดตรรกะ ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่เป็นความจริง หรือความเท็จ
2.ชนิดข้อมูลอ้างถึง (Reference Data Type) มีความแตกต่างกับชนิดข้อมูลพื้นฐาน ที่ว่าชนิดข้อมูลชนิดนี้อยู่ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการเข้าถึง(ใช้งาน)ข้อมูลเป็นการอ้างถึงมากกว่าการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง ชนิดข้อมูลอ้างถึงมีดังนี้
     -คลาส (Class )
     -ออปเจ็ค (Object ) หรืออินสแตนซ์(Instance)
     -แถวลำดับหรืออะเรย์ (Array)

NTFS

NTFS ย่อมาจาก New Technology File System คือ ระบบไฟล์ที่ได้รับการพัฒนาโดย Microsoft ซึ่งระบบไฟล์แบบ NTFS ระบบไฟล์นี้ นำมาใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows NT และใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง NTFS สามารถใช้กับ Partition ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่ากับ 2 ยกกำลัง 64 ไบท์ หรือ 16 ExaBytes การทำงานของ NTFS มีลักษณะที่แตกต่างจาก FAT อย่างสิ้นเชิง นั้นคือ NTFS จะสร้างไฟล์ขึ้นมาชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บ Information ของแต่ละ Partition ไฟล์เหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ตอนที่ทำการ Format แต่ละ Partition ไฟล์เหล่านี้เรียกว่า MetaData Files

NTFS ที่เป็นที่รู้จักกันมี 2 รุ่น คือ

a) NTFS 1.1 หรือ NTFS 4.0 เป็นระบบไฟล์ที่ใช้ใน Windows NT 4.0

b) NTFS 5 เป็นระบบไฟล์ที่ใช้ใน Windows 2000,XP,2003

ลักษณะเด่นของ NTFS

เป็นระบบไฟล์ที่ออกแบบเพื่อให้มีศักยภาพในการประมวลผลข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และนำมาใช้กับระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ต้องมีการควบคุมระบบความปลอดภัย

สนับสนุนการตั้งชื่อไฟล์หรือ ไดเร็คทอรี่แบบยาว ได้ถึง 255 ตัวอักษร

ข้อดีของระบบไฟล์แบบ NTFS

1.มีความสามารถในการบีบอัดข้อมูล (File Compression)ให้ได้พื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น โดยไฟล์ที่เก็บข้อมูลเป็นตัวอักษรจะบีบอัดได้ประมาณ 50 % ถ้าเป็นไฟล์แบบ .exe จะประหยัดเนื้อที่ได้ประมาณ 40 %

2.มีความสามารถในการกำหนดสิทธิ์ (Permission) การเข้าถึงข้อมูลให้กับผู้ใช้งานแต่ละคน ว่าให้ใครเข้าถึงข้อมูลไฟล์ไหนได้บ้าง แล้วสามารถอ่านได้อย่างเดียวหรือ แก้ไขได้ด้วย

3.มีความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลได้

4.NTFS สามารถรองรับขนาดของไฟล์และพาร์ติชันได้ใหญ่กว่า แบบ FAT ในทางทฤษฎีสามารถรองรับขนาดของไฟล์และพาร์ติชันรวมกันได้ถึง 16 Exabyte (EB) แต่ในทางปฎิบัติ สามารถรองรับขนาดของไฟล์ได้ 4-64 GB ส่วนขนาดของพาร์ติชันรองรับได้ 2 TB

5.มีความสามารถจัดการกับ Cluster ที่เกิดปัญหา ซึ่งจะใช้วิธีการที่เรียกว่า Bad- Cluster Mapping คือเมื่อระบบพบว่ามี Bad Sector บน Harddisk ก็จะจัดหา Cluster ใหม่แล้วย้ายข้อมูลจาก Cluster เก่ามาใส่ให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นจึงกำหนด Cluster เก่าเป็น Bad Sector

ข้อเสียของระบบไฟล์แบบ NTFS ในยุคของ Windows NT คือ ไม่สามารถมองเห็นฮาร์ดดิสก์ที่เป็น File System แบบ FAT และในทางกลับกันระบบ FAT ก็ไม่สามารถมองเห็นฮาร์ดดิสก์ที่เป็น NTFS ได้เช่นกัน แต่ปัจจุุบันแต่เมื่อมีระบบปฏิบัติการ Windows 2000 และ Windows XP ทำให้ฮาร์ดดิสก์ที่มีระบบไฟล์แบบ NTFS สามารถมองฮาร์ดดิสก์ที่มีระบบไฟล์แบบ FAT ได้ เพราะระบบปฏิบัติการ Windows 2000 และ Windows XP หรือ Windows รุ่นใหม่ๆ มีความสามารถในการสนับสนุน File System ทั้งแบบ FAT และ NTFS ทำให้ระบบปฏิบัติการ Windows 2000 และ Windows XP หรือ Windows รุ่นใหม่ๆ สามารถที่จะมองฮาร์ดดิสก์ทั้งแบบ NTFS และ FAT ได้

FAT

FAT ย่อมาจาก File allocation Table คือ ระบบไฟล์ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการตระกูล Microsoft เป็นระบบไฟล์ที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ระบบไฟล์ในตระกูลนี้มีลักษณะคือ มีการกำหนดหมายเลขให้กับทุก ๆ Cluster ในแต่ละ Partition แล้วทำการสร้างตารางที่มีจำนวนช่องตามจำนวน Cluster นั้น เพื่อเป็นการระบุสถานที่หรือ Cluster ที่ทำการเก็บข้อมูลของไฟล์แต่ละไฟล์ และมีตารางอีกตารางหนึ่งที่เรียกว่า Directory สำหรับเก็บข้อมูลรายละเอียดของไฟล์ เช่น Attribute ต่าง ๆ และ หมายเลข Cluster เริ่มต้นที่เก็บตัวข้อมูลจริง ๆ
ระบบไฟล์ FAT มีหลายรุ่นดังต่อไปนี้

1) FAT 12 เป็นระบบไฟล์ที่ใช้ใน Floppy Disk และ Harddisk ที่มีขนาดไม่เกิน 16 MBs หมายเลข Cluster มีขนาด 12 Bitจึงสามารถอ้างถึง Cluster ได้เพียง 4096 clusters เท่านั้น

2) FAT 16 ใช้ตัวเลขขนาด 16 บิท ในการกำหนดหมายเลข Cluster จึงกำหนดหมายเลขได้ 65536 หมายเลข ระบบไฟล์นี้ มีใช้ในระบบปฏิบัติการของ Microsoft ทุกรุ่น Partition ที่จะใช้ระบบไฟล์นี้ได้ ต้องมีขนาดไม่เกิน 2GBs. FAT 16 ได้รับการปรับปรุงให้มีความสามารถมากขึ้นใน Windows 95 เพื่อให้สามารถใช้งานกับไฟล์ที่มีชื่อยาวได้ไม่เกิน 256 ตัว เรียก FAT 16 รุ่นนี้ว่า Virtual FAT หรือ VFAT

3) FAT 32 ระบบไฟล์ระบบนี้จะใช้หมายเลขขนาด 28 บิท ซึ่งตามทฤษฎีจะสามารถกำหนด Cluster ได้มากถึง 268,435,456 Clusters และสามารถใช้กับ Partition ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 2 TeraBytes ระบบไฟล์แบบ FAT32 นี้มีใช้ใน Windows 95 OSR2 ขึ้นไป แต่ใช้ไม่ได้ใน Windows NT

ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์แต่ละแพล็ตฟอร์มจะมีการจัดการระบบไฟล์ใน Harddisk ที่แตกต่างกัน บางระบบสามารถใช้ระบบไฟล์ได้หลายรูปแบบ โดยระบบไฟล์นั้นเป็นตารางที่ใช้บอกตำแหน่งของข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บน Harddisk ว่าอะไรอยู่ตรงไหน ปกติเมื่อซื้อ Harddisk มาใหม่ ต้องทำการ Format Harddisk ก่อนที่จะนำไปบรรจุข้อมูล การ Format Harddisk เป็นการแบ่ง Harddisk ออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าตำแหน่งของข้อมูลอยู่ตรงไหน

Icon

Icon คือสัญลักษณ์หรือรูปภาพที่ใช้แทนโปรแกรม Icon จะถูกนำมาสร้างเป็นภาพเล็กๆเพื่อสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน เช่น เวลาเราต้องการใช้งานโปรแกรมหนึ่งโปรแกรม เราก็เพียงดับเบิ้ลคลิกที่ Icon ของโปแกรมนั้น แล้วโปรแกรมที่เราต้องการจะถูกเปิดขึ้นมาเป็นหน้าต่างโปรแกรมขึ้นมาทันที ไอคอนนั้นสามารถสร้างเองโดยใช้โปรแกรมแปลงภาพจากไฟล์ JPEG , GIF , PNG เป็นต้น ให้เป็นนามสกุล .ico ซึ่งเป็นนามสกุลไฟล์ของไอคอน เพียงเท่านี้ก้ได้ไอคอนไว้ใช้เองได้แล้ว หรืออาจใช้วิธีดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งมีให้ดาวน์โหลดฟรีมากมาย



ตัวอย่าง Icon โปรแกรมต่างบนหน้า Desktop ของคอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Web Services

Web Services คือระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย โดยที่ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ XML เว็บเซอร์วิสมีอินเทอร์เฟส ที่ใช้อธิบายรูปแบบข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ ลักษณะการให้บริการของ Web Services นั้น จะถูกเรียกใช้งานจาก application อื่นๆ ในรูปแบบ RPC (Remote Procedure Call) ซึ่งการให้บริการจะมีเอกสารที่อธิบายคุณสมบัติของบริการกำกับไว้ โดยภาษาที่ถูกใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนคือ XML ทำให้เราสามารถเรียกใช้ Component ใด ๆ ก็ได้ ใน ระบบ หรือ Platform ใด ๆ ก็ได้ บน Protocol HTTP ซึ่งเป็น Protocol สำหรับ World Wide Web หรืออินเทอร์เน็ต อันเป็นช่องทางที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Application กับ Application ในปัจจุบัน

ประโยชน์ของ Web Services

1.Web Services ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากแอพพลิเคชันที่ต่างกันเป็นไปโดยง่าย โดยแอพพลิเคชันนั้นๆ สามารถเขียนด้วย Java และรันอยู่บน Sun Solaris Application Server หรืออาจจะเขียนด้วย C++ และรันอยู่บน Windows NT หรืออาจะเขียนด้วย Perl และรันอยู่บนเครื่อง Linux ซึ่งมาตรฐานของ Web Service ทำให้อินเทอร์เฟซของแอพพลิเคชันเหล่านี้ ถูกอธิบายโดย WSDL และทำให้อยู่ในมาตรฐานของ UDDI หลังจากนั้น จึงสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันโดย XML ผ่าน SOAP อินเตอร์เฟซ

2.Web Services สามารถถูกเรียกใช้ภายในองค์กรเองหรือจากภายนอกองค์กร โดยผ่านไฟร์วอล์ ดังนั้นจึงมีองค์กรใหญ่ๆ มากมาย กำลังพัฒนาระบบที่มีอยู่ของตน ให้เข้ากับ Web Services ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจาก Web Services สามารถเพิ่มศักยภาพในการทำงานขององค์กร อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพยากรขององค์กรได้อีกทางหนึ่ง

3.นอกจากนั้น Web Services ยังสามารถใช้ร่วมกับ Web Application โดยส่งผ่านข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วยซึ่งนับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหรือหุ้นส่วน ถึงแม้จะต้องคำนึงถึงระบบรักษาความปลอดภัย และการจัดการรายการของข้อมูลอยู่ก็ตาม แต่ Web Services ได้ใช้มาตรฐานทั่วไปของ internet เรื่องดังกล่าวจึงนับเป็นเรื่องธรรมดาของการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

การทำงานของ Web Services ประกอบไปด้วย มาตรฐานหลัก 4 อย่าง ดังนี้

1. XML (Extensible Markup Language) เป็นภาษามาตรฐานที่ทุกระบบสนับสนุน ทำให้ข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษา XML จะถูกนำไปประมวลผลต่ออย่างอัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย ภาษา XML จึงถูกนำมาใช้เป็นภาษามาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ Web Services

2. SOAP (Simple Object Access Protocol) เป็นมาตรฐานของเทคโนโลยี Distributed Objects โดยทำหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบของ XML ทำให้เรียกใช้งานโปรแกรมข้ามระบบผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้

3. WSDL (Web Services Description Language) เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้สำหรับอธิบายการใช้งานโปรแกรมที่เปิดให้บริการ ซึ่งเขียนขึ้นตามแบบมาตรฐาน XML ดังนั้น WSDL จึงเป็นเสมือนคู่มือให้กับระบบ เพื่อเรียนรู้วิธีการเรียกใช้งาน Web Services

4. UDDI (Universal Description, Discovery, and Integration) เป็นระบบมาตรฐานในการอธิบายและค้นหา Web Services โดยเป็นตัวกลางให้ provider มาลงทะเบียนไว้ โดยใช้ไฟล์ WSDL บอกรายละเอียดของบริษัทและบริการที่มีให้ ทำให้ Requestor สามารถค้นหาและทราบว่าบริษัทมีผลิตภัณฑ์และบริการอะไรบ้าง สามารถติดต่อขอดำเนินธุรกิจการค้ากับบริษัทได้โดยอัตโนมัติผ่านทาง Web Services




Multiprocessing

Multiprocessing คือการทำงานเพื่อให้ประมวลผลเร็วขึ้น โดยใช้ CPU ที่มากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน โดยที่ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวนี้ให้ทำงานด้วยกันได้เป็นอย่างดี และถึงแม้ซีพียูตัวใดตัวหนึ่งเสีย ซีพียูตัวอื่นก็ยังสามารถทำงานแทนกันได้ ถือเป็นการร่วมประมวลผลของโปรแกรม โดยใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่องขึ้นไป
ระบบประมวลผล หมายความว่า การจัดสรรการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่องขึ้นไป โดยที่การจัดสรรนั้นสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ หลายๆ เครื่องสามารถที่จะทำงานบนโปรแกรมเดียวกันในเวลาเดียวกัน
ระบบประมวลผลแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. ระบบหลายตัวประมวลแบบแบ่งสัดส่วน (Symmetric Multiprocessing) การทำงานของระบบประมวลผลแบบนี้จะทำการแบ่งสัดส่วนการใช้งานของหน่วยความจำและช่องทางในการรับส่งของข้อมูล อีกทั้ง ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ก็ถูกแบ่งใช้กันกับระบบประมวลผลอื่นทั้งหมด หรือในอีกความหมายหนึ่งระบบนี้ ถูกเรียกว่าระบบแบ่งปันทุกอย่าง โดยส่วนใหญ่แล้วระบบนี้จะใช้หน่วยประมวลผลไม่เกิน 16 หน่วย
2. การประมวลผลขนานกันแบบกลุ่ม (Massively Parallel Processing) ระบบ ประมวลผลแบบนี้สามารถใช้หน่วยประมวลผลมากถึง 200 หน่วยหรือมากกว่านั้น ระบบประมวลผลแบบนี้สามารถที่จะทำงานในโปรแกรมใช้งานเดียวกันได้ โดยที่ แต่ละหน่วยประมวลผลมีระบบปฏิบัติการและหน่วยความจำเป็นของตัวเอง แต่การเชื่อมต่อระหว่างกันในการจัดสรรช่องทางรับส่งข้อมูลนั้น อนุญาตให้สามารถสื่อสารกันได้ระหว่างหน่วยประมวลผล แต่โดยการติดตั้งระบบประมวลผลแบบนี้ จะมีความซับซ้อนยุ่งยากกว่า เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงการแบ่งส่วนฐานข้อมูลที่ใช้โดย ทั่วไป ไปยังแต่ละหน่วยประมวลผลและจะทำอย่างไรถึงจะจัดสรรงานให้กับแต่ละหน่วยประมวลผลได้อย่างลงตัว ดังนั้นคนทั่วไปจึงเรียกระบบนี้ว่าระบบที่ไม่แบ่งปันอะไรเลย
ระบบหลายตัวประมวลนั้น บางครั้งอาจจะทำให้เกิดการสับสนกับระบบการทำงานหลายโปรแกรม (Multiprogramming) ซึ่งจริงๆแล้วการทำงานของระบบหลายตัวประมวลนั้น หมายความว่าโปรแกรมเดียวกันแต่ถูกทำงานโดยหน่วยประมวลผลหลายหน่วย ซึ่งต่างกับระบบการทำงานหลายโปรแกรมที่หมายความว่าหน่วยประมวลผลเดียวสามารถทำงานได้หลายโปรแกรม
ข้อดีของระบบ Multiprocessing
ระบบหลายตัวประมวลนั้นทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้น เพราะบางครั้งการทำงานของโปรแกรมอาจต้องการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ถ้าหากใช้ตัวประมวลเดียวก็จะทำให้ต้องรอจนกว่าตัวประมวลนั้นจะว่าง จึงสามารถใช้ทรัพยากรได้

XHTML

XHTML

XHTML ย่อมาจาก eXtensible Hyper Text Markup Language คือภาษาคอมพิวเตอร์ประเภท Markup Language ที่รวมเอาทั้ง ภาษา HTML และ XML ไว้ด้วยกัน กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของ HTML ประโยชน์ของมันคือการสร้างเว็บเพื่อการส่งข้อมูลทั่ว ๆ ไป และเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างแท็กใหม่ ๆ ได้อีกด้วย (โดยที่เรากำหนดได้ด้วยว่าจะให้แท็กเหล่านั้นแสดงผลอย่างไร) ทั้งยังรองรับภาษาอื่น ๆ ที่ใช้ XML เป็นฐาน เช่น (SVG, MathML, chemML, SMIL) ในภาษา XHTML คำสั่งต่างๆนั้นก็ยังเหมือนกับ HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษามากกว่า และมีการตัด tag และ attribute ที่ล้าสมัยออกไป

จากข้อเสียของ HTML ที่เมื่อแสดงผลผ่านเบราเซอร์์ของค่ายต่างๆ เช่น Internet Explorer, Firefox, Netscape, Opera และอื่นๆ ได้ผลที่แตกต่างกัน เว็บเพจที่ออกแบบมาอย่างดีของเรา อาจดูสวยงามถูกต้องใน IE แต่กลับผิดเพี้ยนไปเมื่อดูด้วย Firefox จึงได้นำ XHTML มาใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดย XHTML เป็นผลจากการนำ HTML 4.0 มาปรับปรุงใหม่ให้สามารถใช้กับแอพพลิเคชันต่าง ๆ ได้มากขึ้น เป็นการเปลี่ยนกรอบของ HTML ให้เป็น XML สมาคมเวิล์ดไวด์เว็บ (World Wide Web Consortium หรือ W3C) จึงประกาศรับรองคุณสมบัติ XHTML เพื่อช่วยให้การใช้อินเทอร์เน็ต ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงบนพีซีอีกต่อไป แต่สามารถขยายการใช้งานออกไปได้กว้างขึ้น โดยเฉพาะบนอุปกรณ์ไร้สายได้ด้วย ดังนั้น ต่อไปไม่ว่าจะแสดงเว็บเพจของเราในเบราเซอร์์ค่ายใด ก็สามารถแสดงผลได้เหมือนกันอย่างถูกต้อง และการใช้งานอินเตอร์เน็ตจะไม่จำกัดอยู่แค่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถขยายการใช้งานออกไปได้กว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ





LAN

LAN ย่อมาจาก Local Area Network คือระบบเครือข่าย แบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณเดียวกันที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ล หรือ ที่เรียกกันว่า สายแลน เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ อัตราเร็วของเครือข่าย LAN อยู่ที่ระหวาง 1-100 Mbps ทั้งนี้ความเร็วขอมูลขึ้นอยู่กับ ตัวกลางสายส่งที่ใช้ เทคนิคการส่งสัญญาณ และข้อกำหนดของผู้ให้บริการเน็ตเวิร์ค



การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ

1.Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ

2.Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ

3.Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

ข้อดีของระบบ LAN

เนื่องจาผู้ใช้คอมพิเตอร์ในวง LAN เดียวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น การขนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องในระบบ ทำได้รวดเร็วกว่าการขนย้ายข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต เป็นระบบพื้นฐานในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

ข้อเสียของระบบ LAN

ถ้าสายเคเบิ้ลขาดจะไม่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้

ทำความรู้จัก IP 127.0.0.1 คืออะไร หมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา


IPv4 ไอพีวี 4 คืออะไร

สำหรับ IP ภายนอกสามารคเช็คได้ด้วยโปรแกรม นี้ http://www.mindphp.com/tools/checkip/index.php

จอภาพ(monitor)

จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะ

แบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตา

เมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควร

ทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้

และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต









การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ

จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง

LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม




สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ

CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ

Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)

Thin Flim Transistor (TFT)




จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN


เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD กับ มอนิเตอร์แบบ CRT

LCD

CRT

พื้นที่ในการแสดงผลดีกว่ามากเมื่อเทียบขนาดเดียวกัน มุมมองมีแค่ 49-100 องศา 
มีมุมมองกว้างถึง >190 องศา ความสว่างสบายตา สว่างมาก (แสบตาถ้าต้องเพ่งนานๆ) 
อัตราการรีเฟรชของภาพแบบ(TFT)ใกล้เคียง CRT มีอัตราเร็วที่สุด 
การใช้พลังงานประหยัด กินไฟ การแผ่รังสี มีอัตราการแผ่รังสี =0 มีการแผ่รังสี พื้นที่ในการติดตั้ง
ใช้พื้นที่น้อยนิด ใช้พื้นที่ในการวางมากกว่า อายุการใช้งาน ประมาณ 6.85 ปี (2,500วัน) 6-8 ปี 

ข้อควรจำ

ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ ลำแสง อิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอ

เสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมาเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียวครับ

แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์(power supply)

Power Supply แหล่งจ่ายไฟ เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยจะทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แหล่งจ่ายไฟในอดีตนั้น จะเริ่มจากแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบเชิงเส้น ซึ่งแหล่งจ่ายไฟชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่ โดยมีการออกแบบหม้อแปลงไฟฟ้าที่ความถี่สาย (line frequency) ให้ได้แรงดันไฟฟ้าในระดับที่ต้องการก่อน จากนั้นจะแปลงผ่านวงจรเรียงกระแสไปยังโหลดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จนกระทั่งปลายปี 1960 มีความต้องการใช้แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าสำหรับงานการบินอวกาศ จึงมีการพัฒนาและประยุกต์จนเกิดเป็นแหล่งจ่ายไฟแบบสวิตชิ่ง (Switched mode) ขึ้น





ภาพแสดงลักษณะภายนอกแหล่งจ่ายไฟแบบลิเนียร์ (ซ้ายมือ) กับสวิตชิ่ง (ขวามือ)

จากที่แหล่งจ่ายไฟฟ้ากำลังแบบเชิงเส้นนั้นมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักที่มากทำให้ไม่สามารถใช้ไดักับอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารชนิดพกพาต่างๆ ได้ จึงเป็นผลให้แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าแบบเชิงเส้นถูกแทนที่ด้วยแหล่งจ่ายกำลังสวิตชิ่งและเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องของน้ำหนักและขนาดแล้ว ยังมีเรื่องของความสะดวกในการใช้งาน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า แหล่งจ่ายไฟฟ้าจากการไฟฟ้าของแต่ละประเทศนั้น จะมีระดับแรงดันที่ไม่เท่ากัน เช่น 100VAC 220VAC รวมถึงความถี่ที่ใช้เช่น 60Hz 50Hz ซึ่งในประเทศไทยเราใช้อยู่ที่ 220VAC 50Hz ดังนั้น ถ้าเป็นผู้ผลิตภาคจ่ายไฟ ย่อมอยากจะออกแบบภาคจ่ายไฟครั้งเดียวให้รองรับการใช้งานได้ทั่วโลก ซึ่งคุณสมบัติอย่างหนึ่งของภาคจ่ายไฟแบบสวิตชิ่งนั้น คือการรองรับย่านแรงดันอินพุตได้กว้าง เช่น 100-240VAC 50/60Hz ซึ่งทำให้ใช้งานได้ดีในกรณีที่แรงดันอินพุต หรือในระบบไม่นิ่ง ซึ่งจะยังคงรักษาระดับแรงดันขาออกได้คงที่
Switching Power Supply

Switching Power Supply สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย หรืออาจเรียกกันในชื่อของ Switch Mode Power Supplies (SMPS) เป็นอุปกรณ์แหล่งจ่ายไฟตรงคงค่าแรงดันแบบหนึ่งและสามารถเปลี่ยนแรงดันไฟสลับค่าสูงเป็นแรงดันไฟตรงค่าต่ำได้ ในชีวิตประจำวัน สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตัวอย่างพวกเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ต้องการแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังสูง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องโทรสาร และอีกต่างๆ มากมายก็ล้วนแล้วแต่ใช้สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายในการจ่ายไฟแทบทั้งสิ้น

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เคส (Case)

Case คือ ฮาร์ดแวร์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่ห่อหุ้มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ เป็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับฮาร์ดแวร์อื่นๆ เช่น Motherboard HDD CD-DVD PS พัดลมระบายอากาศ และ และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เป็นต้น มีลักษณะ เป็นทรงคล้ายรูปทรงสี่เหลี่ยม มีช่องว่างภายใน ใช้รองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ 

ทำไมต้องมี Case ก็เพราะว่า เวลา ยกไปไหน ก็สะดวก ป้องกันไฟดูด อุปกรณ์ถูกจัดเป็นระเบียบ เก็บไว้ใน Case ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ป้องกันอุปกรณ์เสียหาย เช่น โดนน้ำ โดนหนูเข้าไปอยู่ แมลงสาป รวมไปถึงการป้องกัน คลื่นรบกวนจากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่น ๆ

บางทีสวยแต่รูปจูบไม่หอมก็มีมากมาย มันขึ้นอยู่กับขนาดของเมนบอร์ดและการใช้งาน โดยจะแบ่งออกเป็น Flex/Micro ATX Case เป็นเคสขนาดเล็ก, Medium Tower Case เป็นเคสที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากขนาดกำลังพอเหมาะ, Server/Tower Case เป็นเคสที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Server มีขนาดใหญ่กว่าเคสที่ใช้กันทั่วไปมาก สำหรับวัสดุที่ใช้ทำเคสก็มีหลายประเภท เช่น เคสเหล็ก, เคสโลหะผสม, เคสอะลูมิเนียม, เคสพลาสติก, เคสผสม เคสประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีหลายส่วนครับอันแรกก็จะเป็นฐานรองเมนบอร์ด สำหรับเป็นที่ยึดเมนบอร์ดให้ติดแน่นอยู่กับเคสต่อมาก็จะเป็นปุ่มควบคุมประกอบด้วย ปุ่ม เปิด – ปิดเครื่อง และปุ่มรีเซตเครื่องรวมถึงไฟแสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ และไฟแสดงสถานะว่าตอนนี้เครื่องทำงานอยู่แล้วก็ลำโพงเล็ก ๆ ที่ใช้สำหรับการแจ้งเตือนข้อผิดพลาดด้วยเสียงมันยังมีช่องสำหรับใส่ไดรฟ์ซีดีรอม, ฟรอบปีดิสก์ไดรฟ์ และช่องสำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์และมี Bracket เป็นช่องทางสำหรับอุปกรณ์ต้องเชื่อมต่อภายนอกกับอุปกรณ์อื่นมีช่องระบายความร้อน ซึ่งสามารถติดตั้งพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนมีฝาครอบเคส เป็นฝาที่สามารถ เปิด – ปิด ได้เพื่อการติดตั้งอุปกรณ์ภายในเคสมีเพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอุปกรณ์สำหรับจ่ายพลังงาน โดยมากมักมาพร้อมเคสเสมอสุดท้ายก็พอร์ต USB และพอร์ตมัลติมีเดีย ซึ่งจะอยู่ด้านหน้าเคส ทำให้ติดตั้งอุปกรณ์ได้สะดวกขึ้นแล้วการเลือกซื้อเคสจะเลือกอย่างไร การเลือกซื้อเคส คุณต้องเลือกเคสที่รองรับเมนบอร์ดของคุณ ถ้าใช้เมนบอร์ด Pentium 4 ก็ควรเลือกเคส ATX สำหรับ Pentium 4 ซึ่งเป็นหลักการเลือกซื้อเบื้องต้น ต่อจากนั้น ก็ให้คุณเลือกเคสที่มีการออกแบบตรงใจคุณ ต่อจากนั้น ก็ต้องดูด้วยขนาดของเมนบอร์ดว่าเป็นแบบใด แต่ส่วนมากแล้วเคสส่วนใหญ่ ก็สามารถใส่ได้กับเมนบอร์ดทุกรุ่นอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังควรพิจารณาถึงจำนวนช่องสำหรับใส่อุปกรณ์ การติดตั้งพอร์ต USB ด้านหน้าและควรเลือกเคสที่มีระบบระบายความร้อนที่ดี สุดท้ายควรพิจารณาด้วยว่าเพาเวอร์ซัพพลายของเคสรุ่นนี้ เพียงพอกับอุปกรณ์ในเคสหรือไม่ ซึ่งควรใช้เพาเวอร์ซัพพลายขนาด 250 วัตต์ขึ้นไป ผมคิดว่าจะทำให้ท่านผู้อ่านรู้จักเคสดีขึ้นครับ

BIOS

BIOS คืออะไร

BIOS ย่อมาจาก Basic Input Output System คือโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำถาวรอย่าง ROM ซึ่งรอมนั้นเป็นหน่วยความจำที่ไม่ต้องมีไฟฟ้าเลี้ยงตัวรอมก็ได้ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในรอมก็จะไม่หายไปไหน


โปรแกรม BIOS เป็นโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์จะเรียกใช้งานเป็นโปรแกรมแรก ๆในการเปิดเครื่อง โดยเราจะได้ยินเสียง BIOS ในการเปิดเครื่องทุกครั้ง ซึ่งเสียงทุกเสียงในตอนเปิดเครื่องจะบ่งบอกถึงปัญหาและสภาพของคอมพิวเตอร์





หน้าตาโปรแกรม BIOS

BIOS ที่ใช้งานกันทั่วไปแบ่งเป็น 3 แบบด้วยกันคือ

1. ไบออสของ Award เป็นไบออสที่นิยมใช้งานที่สุด เพราะมีการออกแบบมาให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจในการปรับแต่งต่าง ๆได้ง่ายขึ้น โดยทาง Award นั้นมุ่งเน้นในการผลิตไบออสให้กับเมนบอร์ดเพียงอย่างเดียว

2. ไบออสของ AMI เป็นไบออสตัวแรก ๆที่มีการใฃ้เมาส์ในการปรับแต่งไบออส ซึ่งต่อมาได้การพัฒนาให้มีการใช้งานง่ายมากขึ้นซึ่งอาจจะเทียบเท่าหรือเหมือนกับ ไบออส Award เลยทีเดียว

3. ไบออสของ Phoenix เป็นไบออสที่ไม่ค่อยมีตัวเลือกในการปรับแต่ซักเท่าไร ซึ่งส่วนมากแล้วจะใช้งานกับเครื่องที่มียี่ห้อ เพราะว่าไบออสPhoenix จะมีการปรับตั้งค่ามาจากโรงงานผู้ผลิตแล้ว ในปัจจุบันไบออสของ Phoenix ได้รวมกิจการกับ ไบออสของ Award แล้ว



ตัวอย่างชิบ (CHIP) BIOS

BIOS ทำหน้าที่อะไร

หน้าที่ของ BIOS หลัก ๆก็คือโปรแกรมขนาดเล็กที่ทำงานเป็นโปรแกรมแรก ซึ่งโปรแกรม BIOS จะทำงานต่ำกว่าระบบปฏิบัติการ ซึ่งไบออสจะคอยตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆในการเชื่อมต่อ อาทิ ฮาร์ดดิกส์ ซีดีรอม เป็นต้น เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดต่าง ๆ เมื่อพบความผิดพลาดก็จะรายงานออกมาที่หน้าจอหรือรายงานออกมาเป็นเสียงในตอนเปิดเครื่องก็ได้เช่นกัน


หลังจากตรวจสอบแล้ว ไบออสจะโหลดระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์ ไปที่แรม(Ram) หลังจากนั้นไบออสจะทำหน้าที่บริหารจัดการการไหลของข้อมูลระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่


ประโยชน์ของ BIOS มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของ BIOS หลักๆ และสามารถแบ่งได้เป็นข้อๆดังนี้

1. เราสามารถปรับแต่งไบออสภายในเครื่องให้ทำงานอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งจะทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้น แต่ถ้าปรับแต่งไบออสมีการผิดพลาดก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้างได้เหมือนกัน

2. แก้ปัญหาฮาร์ดแวร์ต่างๆ ซึ่งในบางครั้งมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม แต่ไม่สามารถทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เราสามารถปรับแต่งไบออสเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้เช่นกัน

3. ไบออสสามารถรายงานผลต่างๆที่เป็นปัญหาออกมาเป็นจังหวะเสียง เพื่อให้ผู้ตรวจสอบพบปัญหาได้ง่ายขึ้นและแก้ไขปัญหานั้นได้ตรงจุด

โปรแกรม BIOS เป็นโปรแกรมที่สำคัญมาก เพราะว่าถ้าโปรแกรมไบออสเสียหรือใช้งานไม่ได้ เราก็ไม่สามารถที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เหมือนกัน ผู้ที่หวังจะเป็นช่างคอมพิวเตอร์ที่เก่งควรมั่นศึกษาเสียงของ BIOS แต่ละยี่ห้อไว้เพื่อจะได้ทำการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น