วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

DSL

DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Line คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์ โดยการสื่อสารนี้จะใช้ย่านความถี่ที่ไม่มีการใช้งานในระบบโทรศัพท์ ซึ่งทำให้เราสามารถเล่น Internet พร้อมกับพูดคุยโทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ระบบ DSL เป็นระบบที่ Online 24 ชั่วโมง ซึ่งเราไม่จำเป็นต้อง Dial-up เหมือนกับโมเด็มทั่ว ๆ ไป เป็นระบบที่มีคุณสมบัติในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยี DSL มีหลายเทคโนโลยี

ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)

HDSL (High-bit-rate Digital Subscriber Line)

RADSL (Rate Adaptive Asymmetric Digital Subscriber Line)

SDSL (Symmetric Digital Subscriber Line) 

VDSL (Very high-bit-rate Digital Subscriber Line) 

หน้าที่ของ DSL
ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมติดต่อกับที่อยู่อาศัยหรือธุรกิจขนาด เล็ก ด้วยสายโทรศัพท์ที่เรียกว่า Twisted pair โดยระบบโทรศัพท์แบบนี้เป็นการสับและส่งสัญญาณแบบอะนาล็อก อุปกรณ์นำเข้าสัญญาณจะแปลงเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าด้วย amplitude และความถี่เพื่อส่งไปยังปลายทาง ในการรับสัญญาณจะแปลงสัญญาณแบบอะนาล็อก ให้เป็นเสียง ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์มี modem ในการแปลงสัญญาณ อะนาล็อก ให้เป็นค่า 0 และ 1 จึงเรียกว่า ระบบดิจิตอล

จากการส่งสัญญาณอะนาล็อก โดยผ่านสายทองแดงแบบ Twisted pair สามารถใช้กับโมเด็มขนาด 56 Kbps ทำให้ ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกจำกัด ด้วยระบบสายโทรศัพท์ดังกล่าว

Digital Subscriber Line (DSL) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ ข้อมูลไม่ต้องเปลี่ยนเป็นสัญญาณอะนาล็อก โดยให้ข้อมูลแบบดิจิตอลแล้วส่งผ่านไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง และยินยอมให้ส่งไปยังผู้ใช้สามารถใช้ ขนาด bandwidth ที่กว้าง ในขณะที่มีการแบ่ง bandwidth บางส่วนสำหรับการส่งสัญญาณ อะนาล็อก เพื่อที่จะทำให้สามารถใช้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ในสายเดียวกัน

ADSL คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่นำมาใช้งานอินเตอร์เน็ตตามบ้าน และองค์กรขนาดย่อม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องมาจากคุณภาพและราคาที่ค่อนข้างเหมาะสมกับความต้องการ อีกทั้งการเชื่อมต่อแบบ DSL ไม่มีจุดอ่อนต่อการถูกดักจับ Packet เหมือนกับการใช้งานเคเบิลโมเด็ม

ตัวอย่างการประยุกต์เทคโนโลยี DSL ไปใช้งาน

1.Broadcast Audio & TV

ดูรายการถ่ายทอดสดผ่าน TV, คอมพิวเตอร์

2.Distance Learning

การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต แบบ Interactive

3.Interactive Network

เล่นเกมส์ online

4.Online Shopping

Shopping แบบ online

5.VDO Conference

การประชุมทางไกล การอบรมทางไกล

6.Video & Music on Demand

ดูหนัง ฟังเพลงแบบ online สามารถเลือกได้ตามใจคุณ

7.VPN : Virtual Private Network

การรับส่ง ติดต่อข้อมูลระหว่างสาขา

DBMS

DBMS ย่อมาจาก Database Management System

DB คือ Database หมายถึง ฐานข้อมูล

M คือ Management หมายถึง การจัดการ

S คือ System หมายถึง ระบบ

DBMS คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล โดยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั้งในด้านการสร้าง การปรับปรุงแก้ไข

การเข้าถึงข้อมูล และการจัดการเกี่ยวกับระบบแฟ้มข้อมูลทางกายภาพ ภายในฐานข้อมูลซึ่งต่างไปจากระบบแฟ้มข้อมูลคือ หน้าที่เหล่านี้จะเป็นของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่ม DML หรือ DDL หรือ จะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับฐานข้อมูลจะถูกโปรแกรม DBMS นำมาแปล (Compile) เป็นการกระทำต่างๆภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลใน ฐานข้อมูลต่อไป

DBMS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้าน Data Independence ที่ไม่มีในระบบแฟ้มข้อมูล ทำให้มีความเป็นอิสระจากทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์ และข้อมูลภายในฐานข้อมูลกล่าวคือโปรแกรม DBMS นี้จะมีการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบ (Platform) ของตัวฮาร์ดแวร์ ที่นำมาใช้กับระบบฐานข้อมูลรวมทั้งมีรูปแบบในการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลด้วยการใช้ Query Language ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลแทนคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงประเภทหรือขนาดของข้อมูลนั้นหรือสามารถกำหนดลำดับที่ของฟิลด์ ในการกำหนดการแสดงผลได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงลำดับที่จริงของฟิลด์ นั้น

หน้าที่ของ DBMS

1.) ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ข้อมูลเข้าใจ

2.) ทำหน้าที่ในการนำคำสั่งต่างๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้วไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ข้อมูล (Retrieve) การจัดเก็บข้อมูล (Update) การลบข้อมูล (Delete) หรือ การเพิ่มข้อมูลเป็นต้น (Add) ฯลฯ

3.) ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำได้

4.) ทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ

5.) ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ใน data dictionary ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า "ข้อมูลของข้อมูล" (Meta Data)

6.) ทำหน้าที่ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างฐานข้อมูลที่เป็น

DBMS
Mysql

Oracle คืออะไร ออราเคิล คือโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
มารู้จักและติดตั้ง PostgreSQL
MSSQL

Microsoft

Microsoft คือบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก ก่อตั้งโดยบิลล์ เกตส์ กับ พอล อัลเลน มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ และเป็นผู้ผลิตโปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (IE Microsoft Internet ) นอกจากนี้แล้วไมโครซอฟท์ยังได้ทำตลาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น ไมโครซอฟท์ เมาส์ ไมโครซอฟท์ คีย์บอร์ด ไมโครซอฟท์ ฮารด์แวร์ ไมโครซอฟท์ LifeCam รวมถึงเครื่องเล่นต่างๆเช่น เครื่องเล่นวีดีโอเกม Xbox MSN TV และ Zune เป็นต้น



ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ต่างๆของบริษัท Microsoft

Virtual Private Network

Virtual Private Network หรือ VPN คือเครือข่ายเสมือนส่วนตัว เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัย Internet เป็นตัวกลาง โดยเชื่อมต่อจากที่ใดในโลกก็ได้ เพื่อเข้าใช้งานทรัพยากรต่างๆ บนเครือข่ายนั้นๆ เปรียบเสมือนผู้ใช้กําลังใช้งานอยู่ภายในเครือข่ายนั้น รวมถึงมีการรักษาความปลอดภัยในการเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่ง เพื่อให้ข้อมูล มีความปลอดภัย ปกติแล้ว VPN ถูกนํามาใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีสาขาอยู่ตามที่ต่างๆ และต้องการต่อเชื่อมเข้าหากัน โดยยังคงสามารถรักษาเครือข่ายให้ใช้ได้เฉพาะคนภายในองค์กร หรือคนที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ลูกค้า, ซัพลายเออร์ เป็นต้น เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งต้องการความคล่องตัวในการติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างสาขา

ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีนโยบายในการนำเครือข่ายแบบ VPN มาใช้งานในมหาวิทยาลัย เพือสนับสนุนการดำเนินงานในทุก ๆ ด้านทั้งด้านการเรียน การสอน การวิจัย การบริหารและบริการ VPN จะช่วยใหบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เข้าสู่เครือข่ายการสื่อสารหลักของมหาวิทยาลัยจากที่บ้านหรือที่อื่นๆได้ เพื่อใช้บริการภายในต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ โดยความเร็วที่เข้าใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ Internet ณ จุดที่ผู่ใช้ กำลังใช้บริการ




รูปแบบบริการ VPN

บริการ VPN แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

1. Access VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ใน 2 ลักษณะ โดยลักษณะแรก เป็นการเข้าถึงจากไคลเอ็นต์ใดๆ ก็ได้ โดยอาศัย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นตัวกลาง ในการติดต่อ ซึ่งจะมีการเข้ารหัสในการ ส่งสัญญาณ จากเครื่องไคลเอ็นต์ ไปยังไอเอสพี และลักษณะที่สอง เป็นการเข้าถึง จากเครื่องแอ็กเซสเซิร์ฟเวอร์ (Network Access Server-NAS) โดยเริ่มต้นจาก ผู้ใช้หมุนโมเด็ม ติดต่อมายังไอเอสพี และจากนั้น จะมีการเข้ารหัสข้อมูล และส่งต่อไปยังปลายทาง

2. Intranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN ที่ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น อาทิ การต่อเชื่อมเครือข่าย ระหว่างสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ และสาขาย่อย ในต่างจังหวัด เสมือนกับ การทดแทน การเช่าวงจรลีสไลน์ ระหว่าง กรุงเทพกับต่างจังหวัด โดยที่แต่ละสาขา สามารถ ต่อเชื่อมเข้ากับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในท้องถิ่นของตน เพื่อเชื่อมเข้า โครงข่าย VPN ขององค์กรอีกทีหนึ่ง

3. Extranet VPN: เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย ที่คล้ายกับ Intranet VPN แต่มีการขยายวงออกไป ยังกลุ่มลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพาร์ตเนอร์ เพื่อให้ใช้เครือข่ายได้ จุดสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกติดตั้ง VPN คือการเลือก ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่วางระบบรักษาความปลอดภัย เป็นอย่างดี มีส่วนอย่างมาก ในการส่งข้อมูลบน VPN ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะถ้า ไอเอสพี มีระบบรักษาความปลอดภัย ที่รัดกุม ก็จะช่วยให้ ข้อมูลที่ส่งมา มีความปลอดภัยมากขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจาก VPN

ประโยชน์ของ การติดตั้งเครือข่ายแบบ VPN จะช่วยองค์กร ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ว่าผู้ใช้องค์กร จะอยู่ที่ใดในโลกก็สามารถเข้าถึงเครือข่าย VPN ของตนได้ โดยการต่อเชื่อมเข้ากับผู้ให้บริการท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร และสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการดูแลรักษาระบบอีกด้วย